อาหารเป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย์ ความต้องการสารอาหารมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยช่วงวัยทารกมีนมเป็นอาหารหลัก นมแม่ถือเป็นอาหารที่สําคัญสําหรับทารก เนื่องจากมีสารอาหารครบถ้วน มีภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมกับทารก และส่งผลดีต่อสุขภาพระยะยาว เมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ทารกจะมีความต้องการสารอาหารมากขึ้น ทําให้ต้องรับอาหารตามวัยที่เหมาะสมควบคู่ไปกับนมแม่ ในวัยเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาหารหลัก 3 มื้อ นมระหว่างมื้อ และอาหารว่าง มีบทบาทสําคัญที่จะทําให้เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัย ซึ่งจะเห็นว่านมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาหาร 5 หมู่ นอกจากช่วงอายุแล้ว ควา
อาหารทารก
บทความ "อาหารสําหรับทารกที่มีวัตถุประสงค์พิเศษหรืออาหารทางการแพทย์"
บทความ "ความสัมพันธ์ของการให้อาหารทารกและเด็กเล็กกับการเติบโตด้านส่วนสูงของเด็ก"
ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทารกและเด็กเล็กของประเทศไทยแนะนำให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ เริ่มให้อาหารตามวัย (complementary foods) เมื่ออายุ 6 เดือนควบคู่ไปกับนมแม่ ถ้าการเจริญเติบโตมีแนวโน้มลดลงหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่อาจเริ่มให้อาหารตามวัยก่อน 6 เดือนได้แต่ไม่ก่อนอายุครบ 4 เดือน เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตามวัยที่มีคุณภาพและครบ 5 หมู่จนครบ 3 มื้อเมื่อเด็กอายุ 10-12 เดือน เมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน โดยให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย
วีดิทัศน์ "คำแนะนำอาหารทารกและเด็กเล็ก"
เชิญท่านชมวีดิทัศน์เรื่อง "คำแนะนำอาหารทารกและเด็กเล็ก" จัดทำโดยโครงการการพัฒนารูปแบบของคลินิกเด็กสุขภาพดีเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและป้องกันโรคอ้วนในเด็ก โดยความร่วมมือของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย และเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)